วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกความรู้ ครั้งที่ 15 วันที่ 20 เดือนกันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.10-16.40 น.


ให้แบ่งกลุ่มละ 5 คน แล้วให้ฝึดทำกิจกรรมหน่วยการเรียนรู้

   กลุ่มฉันทำหน่วยการเรียนรู้เรื่อง ผีเสื้อ

  วัตถุประสงค์
   
          เพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องวัฏจักรของผีเสื้อ  ว่าผีเสื้อเกิดขึ้นได้อย่างไร

  สาระการเรียนรู้
  
           ธรรมชาติรอบตัว

  ขั้นนำ
     
         เราจะนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการพาเด็กร้องเพลง

 ต้วมๆ เตี้ยมๆ ออกมาจากไข่ เจ้าหนอนตัวใหญ่ ลูกใครกันหนอ

กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป

กระดึ๊บ ดึ๊บไป บนใบไม้อ่อน กัดกัด กินกิน อิ่มแล้วก็นอน แล้วเจ้าหนอน ก็ชักใยหุ้มตัว ฯลฯ

 ขั้นสอน


1. เราจะนำขวดโหลที่มี ตัวผีเสื้อ , ไข่ , หนอน , ดักแด้  มาให้เด็กดู

     2. แล้วจะให้เด็กบอกว่า เด็ก ๆ เคยเห็นช่วงไหนบ้าง


 ขั้นสรุป

        ให้นักเรียนและครูช่วยกันบอกความหมาย และวัฏจักรของผีเสื้อ


 ขั้นประเมิน

        1. การสังเกต

        2. การประเมินผล



บันทึกความรู้ ครั้งที่ 14 วันที่ 13 เดือนกันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.10-16.40 น.


วันนี้ครูโบว์ได้นำรูป การจัดมุมต่างๆมาให้ดู




จากนั้นก็แบ่งเป็นกลุ่มละ 5 คน  คิดการจัดมุมตามจินตนาการของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มของฉันทำมุม ยานพาหนะ





บันทึกความรู้ ครั้งที่ 13 วันที่ 6 เดือนกันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.10-16.40 น.




วันนี้ครูโบเข้ามาที่แล้วเริ่มเปิดเพลง ครอบครัวกระต่าย  มีเนื้อเพลงดังนี้
    
พ่อกระต่าย แม่กระต่าย ลูกกระต่าย 
 มีบ้านอยู่ตามโพรงดินในป่า
ชอบกินๆ ยอดผัก ชอบนักก็ต้องยอดหญ้า 
 ชอบวิ่งไปมาตล๊อบๆ
พ่อกระต่ายแม่กระต่ายลูกกระต่าย 
อยู่กันอย่างสบายในป่า
เพื่อนบ้านเขาเป็นนกกา เพื่อนรักเขาเป็นตัวตุ่น 
วิ่งเล่นกันชุลมุน ตล๊อบๆ


เนื้อหาของวันนี้

  การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

- สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการการใช้ภาษาอย่างมีความหมายสำหรับเด็กปฐมวัย
- เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหา

  หลักการและความสำคัญการจัดสภาพแวดล้อม

- สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง

  มุมประสบการณ์เพื่อสนับสนุุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

มุมหนังสือ   มุมบทบาทสมมติ   มุมศิลปะ   มุมดนตรี   ฯ ล ฯ

  ลักษณะการจัดมุมในชั้นเรียนที่สังเสริมทักษะทางภาษา

- มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
- เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
- บริเวณใกล้ๆ มีอุปรณ์
- เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ

  สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
สื่อของจริง   สื่อของจำลอง   ภาพถ่าย   ภาพโครงร่าง   สัญลักษณ์


และวันนี้ครูโบว์ก็ให้คัด ก-ฮ แบบหัวกลมตัวเหลี่ยม






บันทึกความรู้ครั้งที่ 12 วันที่ 30 สิงหาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.10-16.40 น.



ให้แต่ละกลุ่มคิดทำสื่อการเรียนทางด้านภาษา โดยมีภาพกิจกรรม ดังนี้







 

เนื้อหาที่กลุ่มดิฉันนำเสนอ


- ชื่อสื่อ My  Body


-เชื่อมโยงกับทฤษฏี ของเพียเจต์


     เด็กวัยนี้เริ่มมีความคิดรวบยอด รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้น

ส่วนของวัตถุ เด็กไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน แต่การคิดหาเหตุผล

ของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่ กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก

-ประโยชน์ของสื่อ 

สามารถนำสื่อการเรียนการสอนนี้ไปใช้ในการทำกิจกรรมกับเด็กๆ และเด็กจะได้เรียนรู้อวัยวะต่างๆ

ของร่างกายตัวเองได้ และทักษะที่เด็กได้ก็คือ เด็กสามารถจดจำอวัยวะในร่างกายตัวเองได้ รวมถึงคำ

ศัพท์พื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

บันทึกความรู้ครั้งที่ 11 วันที่ 23 สิงหาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.10-16.40 น.



วันนี้ฉันไม่ได้มาเรียน

บันทึกความรู้ครั้งที่ 10 วันที่ 16 สิงหาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.10-16.40 น.


ครูโบว์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและทำกิจกรรมสื่อการเรียนการสอน

ฉันได้ระบายสีกบและตัดปากให้สามารถขยับได้





 


ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

   1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น

   1.2 วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น

2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น
เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย 

3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกความรู้ครั้งที่ 9 วันที่ 9 สิงหาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


เวลา 13.10-16.40 น.


- อาจารย์นำเพลงมาสอนหลากหลายเพลง  ได้แก่

     เพลง ชื่อของเธอ
ชื่อของเธอฉันไม่รู้จัก   ครูถามทัักนักเรียนเข้าใหม่
ชื่อของเธอฉันจำไม่ได้  ชื่ออะไรขอให้บอกมา

     เพลง Hello Hello  Hello.
Hello Hello  Hello.    How  are  you
I'm find , I'm find.    I hope that  you  too.

      เพลง  บ้านของฉัน
บ้านของฉัน  อยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อแม่ลุงป้า   ปู่ย่าตายาย
มีทั้งน้าอา  พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย  เราเป็นพี่น้องกัน

      เพลง ตบแผละ
ตบแผละ ตบแผละ  ตบแผละ  
ปากใจตรงกันนั่นแหละ
เรามาลองฝึกกัน
จิตกายสัมพันธ์กับปากตบแผละ

      เพลง  ขอบคุณ  ขอบใจ
เมื่อผู้ใหญ่ใจดีให้ของ  
หนูๆ ควรต้องนึกถึงพระคุณ
น้อมไหว้กล่าวคำขอบพระคุณ 
 เพื่อนมีใจเผื่อแผ่การุณ
นึกถึงบุญคุณกล่าวคำขอบใจ

       เพลง อย่าทิ้ง
อย่าทิ้ง  อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง      ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก                   ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ


       เพลง ตาและหู
ตาเรามีไว้ดู  หูเรามีไว้ฟัง
เวลาครูสอนครูสั่ง  ต้องตั้งใจดูต้องตั้งใจฟัง





-ถอดรหัสคำ











            บวกกับ







เฉลย ปลาดาว





  

                              บวกกับ










เฉลย  แปรงฟัน